ในการออกแบบห้องครัว การคำนึงถึงรูปแบบการวางผังครัวถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ที่เราจะต้องใส่ใจและควรคำนึงก่อนที่จะเริ่มทำห้องครัว ในขณะที่อาจกำลังมีหลายครัวเรือน หลายบ้านที่กำลังประสบปัญหากับการใช้งานพื้นที่ครัวของตัวเองเพราะพลาดการพิจารณาและไม่ให้ควาสำคัญกับการจัดวางผังครัวตามหลักสถาปัตยกรรมการออกแบบที่ถูกต้อง จึงทำให้ระหว่างใช้ครัวเป็นเวลาต่อเนื่องสรีระร่างกายของเราอาจเกิดอาการปวดเมื่อย และไม่สบายตัวในท้ายที่สุด
ออกแบบห้องครัวตามรูปแบบการจัดวางผังครัวที่ถูกต้องจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหากวนใจเหล่านี้ พื้นที่ใช้งานและพื้นที่จัดเก็บข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ จะมีความเป็นสัดเป็นส่วนมากขึ้น มีระเบียบมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเราสามารถกำหนดพื้นที่ต่างๆ ให้มีความเมหาะสมตามจุดประสงค์การใช้งาน ทั้งยังสามารถกำหนดความสูง ความกว้าง หรือขนาดของเคาน์เตอร์ ชั้นวางของ ตู้เก็บของให้สามารถรองรับสรีระร่างกายของเราที่เป็นผู้ใช้งานได้อีกด้วย โดยรูปแบบการวางผังครัวตามหลักสถาปัตย์การออกแบบห้องครัว มีดังนี้
5 รูปแบบการจัดวางผังครัวตามหลักการออกแบบห้องครัวในสถาปัตยกรรม
- จัดวางผังครัวแบบ I-shaped kitchen
การออกแบบห้องครัวในรูปแบบตัว I เป็นวิธีการจัดวางผังห้องครัวที่ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในคอนโดหรือห้องพักอพาร์ตเม้นท์ เพราะโดยปกติแล้วจะเป็นการออกแบบห้องครัวที่ช่วยประหยัดพื้นที่ได้มากที่สุด เนื่องจากเป็นผังครัวที่ใช้ผนังเพียงด้านเดียวซึ่งจะติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นในครัวเอาไว้ทั้งหมด เช่น เคาน์เตอร์ครัว ตู้ลอย และอ่างล้างจาน ในลักษณะแนวยาว ขนานไปกับผนัง เหมาะสำหรับพื้นที่ครัวที่เน้นการใช้งานด้านเดียว รูปแบบผังครัวนี้ไม่เพียงช่วยประหยัดพื้นที่ แต่ยังเน้นเสริมการเคลื่อนไหวขณะใช้งานซึ่งจะเหมาะกับห้องที่มีพื้นที่กระทัดรัด ไม่กว้างมาก หรือห้องที่มีลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปแบบการวางผังครัวนี้จะสามารถวางได้ในพื้นที่ตั้งแต่ขนาด 1 ตารางเมตรขึ้นไป
- จัดวางผังครัวแบบ L-shaped kitchen
การออกแบบห้องครัวเป็นรูปตัว L เป็นวิธีที่ดีในการใช้พื้นที่ครัวให้เกิดประโยชน์สูงสุดและใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มพื้นที่การใช้งานและการจัดเก็บให้มากขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เราสามารถจัดเก็บเครื่องใช้ในครัวต่างๆ ได้โดยไม่ทำให้เกิดความแออัดเกินไป นอกจากนี้ยังช่วยจัดสรรมุมในการใช้งานครัวให้มีความเป็นสัดส่วนมากขึ้น แต่การจัดวางผังครัวในรูปแบบนี้มักไม่มีรูปแบบการจัดวางพื้นที่สำหรับการใช้งานที่ตายตัว ดังนั้น จึงต้องมีการพิจารณาความเหมาะสมของตำแหน่งที่ตั้ง การถ่ายเทอากาศ และสภาพแวดล้อมรอบๆ ด้วยตัวเอง การออกแบบห้องครัวเป็นรูปตัว L เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีขนาดตั้งแต่ 6 ตารางเมตรขึ้นไป และควรมีช่องเปิดหรือหน้าต่างอย่างน้อย 2 จุด เช่น บ้านพักทั่วไป คอนโดขนาดใหญ่ หรือร้านอาหารขนาดเล็ก
- จัดวางผังครัวแบบ U-shaped kitchen
การออกแบบห้องครัวรูปตัวยูเป็นทางเลือกการออกแบบห้องครัวที่มีตอบโจทย์ได้ดีสำหรับผู้ที่กำลังมองหาทั้งที่เก็บของในครัวขนาดใหญ่และครัวสามเหลี่ยมที่ใช้งานได้จริง การออกแบบห้องครัวนี้ทำให้พื้นที่เก็บของไม่ว่าจะเป็นของสดหรือของแห้ง พื้นที่เตรียมอาหารและพื้นที่ปรุงอาหาร อยู่ตรงข้ามกัน โดยจะมีการจัดวางพื้นที่ล้างทำความสะอาดและพื้นที่เตรียมวัตถุดิบและปรุงอาหารไว้ที่ฝั่งเดียวกัน ซึ่งจะเหลือพื้นที่ตรงกลางที่มีขนาดกว้างพอให้เราสามารถเดินหรือหมุนตัวได้อย่างสะดวกและไม่เป็นอันตราย ทั้งนี้ ผังการจัดวางครัวนี้จะค่อนข้างกินพื้นที่ซึ่งจะเหมาะกับพื้นที่ขนาด 9 ตารางเมตรขึ้นไป จึงควรมีหน้าต่างระบายอากาศอย่างน้อย 2 จุด หรือควรมีการติดตั้งระบบระบายอากาศให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่ครัว
- จัดวางผังครัวแบบ Island kitchen
การออกแบบห้องครัวแบบมีเกาะกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเนื่องจากความอเนกประสงค์และมีสไตล์ทั้งยังเป็นตัวเลือกที่ปรับแต่งได้หลากหลายลักษณะตามความต้องการ เป็นรูปแบบที่เหมาะสำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็น บ้าน ครัวโรงแรม หรือครัวร้านอาหารที่มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 12 ตารางเมตรขึ้นไป เป็นการจัดวางผังครัวที่มีความโดดเด่นสวยงามอย่างยิ่งสำหรับจัดวางในพื้นที่เปิดโล่ง ซึ่งจะเป็นรูปแบบที่มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เพื่อให้สามารถปรับใช้ได้กับผังครัวอื่นๆ ทุกรูปแบบ ซึ่งตัวเกาะกลางจะมีความสูงอย่างน้อย 90 เซนติเมตร และควรมีพื้นที่ช่องว่างสำหรับเป็นทางเดินหรือพื้นที่เคลื่อนไหวสรีระได้อย่างสะดวกสบายระหว่างเกาะกลางและเคาน์เตอร์ติดผนังอย่างน้อย 90 เซนติเมตรขึ้นไปอีกด้วย
- จัดวางผังครัวแบบ G-shaped kitchen
การออกแบบห้องครัวแบบรูปตัว G หรือ ครัวแบบ Peninsula เป็นรูปแบบผัวครัวที่จะใช้พื้นที่เกือบทั้งสี่ด้านโดยจะมีการเว้นช่องว่างเอาไว้ที่ด้านใดด้านหนึ่งเพื่อเป็นทางเดินเข้าไป เป็นการจัดวางผังครัวที่เหมาะสำหรับพื้นที่ครัวร้านอาหารเป็นส่วนใหญ่ โดยควรจะมีพื้นที่ขนาดตั้งแต่ 12 ตารางเมตรขึ้นไป และเป็นรูปแบบที่มักจะจัดวางในพื้นที่กลางห้อง ซึ่งนอกจากจะเป็นพื้นที่จัดเก็บของและพื้นที่สำหรับปรุงอาหารแล้วยังสามารถปรับใช้พื้นที่เคาน์เตอร์บาร์ให้เป็นพื้นที่รับประทานอาหารได้อีกด้วย ผังการจัดวางครัวนี้จะมีการจัดวางเคาน์เตอร์หลัก 3 ด้าน ได้แก่ พื้นที่เก็บของสดและของแห้ง พื้นที่เตรียมวัตถุดิบและปรุงอาหารจะถูกจัดวางให้อยู่ตรงข้ามกัน และพื้นที่ล้างทำความสะอาดจะเป็นเคาน์เตอร์คั่นกลางระหว่างทั้งสองพื้นที่ ทั้งนี้ ก็เป็นผังห้องครัวที่กินพื้นที่ไม่น้อย จึงต้องมีหน้าต่างหรือระบบระบายอากาศอย่างน้อย 2 จุดขึ้นไปหรือสามาถพิจารณาตามความเหมาะสมตามรูปแบบการใช้งานและการปรุงอาหาร
ออกแบบห้องครัวตามหลักสถาปัตยกรรมเหล่านี้สามารถช่วยให้เราได้มีพื้นที่ปรุงอาหารที่มีความเหมาะสมและสามารถตอบโจทย์ความต้องการด้านการใช้งานรวมไปถึงความสะดวกสบายของสรีระขณะใช้งานได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความมีระเบียบทำให้พื้นที่อยู่อาศัยของเรามีความสวยงามและน่ามองอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจทำห้องครัว จึงควรมีการพิจารณาหลักการเหล่านี้ด้วย เพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหายิบย่อยต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
ต้องการใช้บริการออกแบบห้องครัว Instyle Deco Paris บริษัทรับออกแบบตกแต่งภายใน สามารถช่วยออกแบบและตกแต่งพื้นที่ภายใน สร้างสรรค์พื้นที่ในฝันได้ตามที่ต้องการ การันตีคุณภาพด้วยประสบการณ์การทำงานอย่างนาวนาน ทั้งยังมีความใส่ใจ จึงทำให้สามารถเข้าใจทุกรายละเอียดที่ต้องการได้เป็นอย่างดี เข้าถึงทุกไอเดียด้วยการพูดคุยและให้คำปรึกษาเพื่อทำความรู้จักรสนิยมของแต่ละคน ทั้งยังช่วยประสานงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้จนจบงานอีกด้วย